Read Time2 Minute, 42 Second
Defi หรือ Decentralized Finance คือ ระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง ที่ตัดตัวกลางในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ออกไป และเปลี่ยนไปใช้ Smart Contract เป็นตัวควบคุมการทำธุรกรรม
ข้อดีของ Defi
- ความโปร่งใส เนื่องจาก Defi ทำธุรกรรมผ่าน Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะบนบล๊อคเชน ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ, ตรวจสอบได้ เป็นสาธารณะอย่างแท้จริง
- ความเป็นอิสระ การทำงานแบบ Peer to Peer (P2P) นั้นให้อิสระกับผู้ใช้งานภายใต้ข้อกำหนดของ Smart Contract โดยไม่มีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง
- การเข้าถึงได้ง่าย ทุกคนสามารถเข้าร่วมกับ Defi ได้โดยไม่ต้องมีขอการอนุญาต (permissionless) หรือทำการยืนยันตัวตน (KYC) ทำให้ทุกคนที่มีอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงเครือข่ายและข้อมูลได้อย่างอิสระ
- ค่าธรรมเนียมต่ำ และอัตราดอกเบี้ยที่น่าสนใจ Defi เป็นการทำงานโดยไม่มีตัวกลาง จึงตัดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมออกไป และยังมีรูปแบบการให้บริการแบบ การให้กู้ยืมแบบ P2P ทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้สามารถต่อรองอัตราดอกเบี้ยกันได้โดยตรงแบบไม่ผ่านตัวกลาง
- ความปลอดภัย การทำงานผ่านสัญญาอัจฉริยะบนบล๊อคเชนของ Defi จะเป็นการทำงานแบบสาธารณะ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การทำธุรกรรมจะได้รับการบันทึกหลังจากผ่านการตรวจสอบโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ใช้งาน ทำให้มีความปลอดภัยและสามารถตรวจสอบได้
- ความสามารถในการรวมองค์ประกอบ เนื่องจากเป็นเครือข่ายแบบ Open Source ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นได้อย่างหลากหลายผ่านข้อกำหนดของสัญญาอัจฉริยะและบล๊อคเชน ทำให้เกิด Dapp ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ข้อเสียของ Defi
- ความเสี่ยงของสัญญาอัจฉริยะ ภายในสัญญาอัจฉริยะในบางกรณีจะมีกลไกป้องกันข้อผิดพลาด หากเกิดความล้มเหลวในการทำธุรกรรม โทเค็นอาจถูกล๊อคไว้ในโปรโตคอล และไม่สามารถกู้คืนได้
- การควบคุมดูแล ในบางแพลตฟอร์มให้สิทธิการควบคุมดูแลแก่ผู้ที่ถือโทเค็นตามสัดส่วนการถือครอง การได้รับเสียงส่วนใหญ่จากโทเค็นกำกับดูแลจะทำให้สามารถควบคุมโปรโตคอลและเงินทุนได้
- ความเสี่ยงของ Oracle Oracle คือบริการที่ช่วยเชื่อมต่อ Smart contract ที่อยู่ในบล็อกเชนเข้ากับข้อมูลจากโลกภายนอก เพื่อนำข้อมูลจากโลกภายนอกเข้ามาใช้ภายในบล็อกเชน Oracle มีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะกับการสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (dApp) ที่ทำงานบนบล็อกเชน ในขณะเดียวกัน บริการของ Oracle ก็มีความเสี่ยงที่จะหยุดทำงานได้ และอาจทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องข่าย
- ความสามารถในการปรับขนาด Defi ยังคงประสบปัญหาในกรณีที่เครือข่ายมีการใช้งานเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความล่าช้าในการทำธุรกรรมและค่าธรรมเนียมที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่เครือข่ายมีความแออัด อย่างไรก็ตาม ยังมีทางเลือกอื่นๆ คือการใช้เครือข่าย Layer 2 และมีความพยายามในการอัปเกรดเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดเพิ่มเติม
- ไม่มีกฏระเบียบข้อบังคับ เนื่องจาก Defi อยู่ภายใต้การทำงานที่เป็นสาธารณะ ดังนั้นมันก็ยังไม่มีกรอบกฎหมายมารองรับ แม้แต่ผู้พัฒนาที่อยู่เบื้องหลังโปรโตคอลบางตัวก็ยังเป็นนิรนาม ผู้ใช้งาน DeFi จะต้องรับผิดชอบทรัพย์สิน Crypto ของตนเองอย่างเต็มที่, ทำการศึกษาหาข้อมูลอย่างรอบคอบด้วยตัวคุณเอง และทำธุรกรรมด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ
Credit: Seek Sonic (Crypto PodDecast)
ช่องทางการติดต่อ
Facebook, Twitter, Telegram, Blockdit
กดลิ้งสมัครฟรี เว็ปเทรด Binance👇🏻
กดลิ้งสมัครฟรี เว็ปเทรด Satangpro👇🏻
กดลิ้งสมัครฟรี เว็ปเทรด Bitkub 👇🏻
Facebook Comments