Ethereum จากจุดเริ่มต้นถึงปัจจุบัน

kungnang28tanya
Read Time2 Minute, 41 Second

Ethereum (ETH) ถูกสร้างขึ้นประมาณปลายปี 2013 โดย Vitalik Buterin ชายหนุ่มสัญชาติรัสเซีย ในเวลานั้น Buterin มีอายุเพียง 19 ปี และในปี 2014 Ethereum (ETH) ก็ถูกเปิดเผยให้โลกรู้ผ่านการ ICO (Initial Coin Offering) คือการระดมทุน แบบดิจิทัลด้วยการเสนอขาย ดิจิทัลโทเคน (digital token) และในปี 2017 Ethereum (ETH) ก็มีการเผยแพร่ Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะ เพิ่มเติม 

Ethereum (ETH) เป็นโปรเจคแบบ Open Source เปิดกว้างให้นักพัฒนาสามารถเข้าร่วมเพื่อสร้างโครงการต่างๆได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะ Decentralized applications (Dapps) แอปพลิเคชันที่ทำงานแบบ Peer-to-Peerโดยไม่ผ่านตัวกลางเหมือนแอปทั่ว ๆ ไปแต่ดำเนินการด้วย Smart contract บนระบบบล็อคเชนแทน รวมไปถึง DeFi หรือ Decentralized Finance ซึ่งเป็นบริการทางการเงินแบบไร้ตัวกลางอย่างธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ 

เครือข่าย Ethereum เริ่มต้นโดยใช้กลไก Proof-of-work (PoW) ผ่านโหนดของเครือข่าย Ethereum ที่ทำหน้าที่ยืนยัน, ตรวจสอบและบันทึกการทำธุรกรรมไว้บน Ethereum blockchain โดยผู้ทำหน้าที่เป็นโหนดจะได้รับค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม (Gas Fee) เป็นค่าตอบแทน

Ethereum blockchain มีสกุลเงินประจำบล๊อคเชนคือ Ethereum (ETH) ซึ่งมีอุปทานที่ไม่จำกัด มีมูลค่าทางการตลาดเป็นอันดับ 2 รองจากบิทคอยน์ (BTC) 

การประยุกต์ใช้ ETH กับภาคธุรกิจ
มีการก่อตั้ง กลุ่มพันธมิตร Enterprise Ethereum Alliance (EEA) โดยมีไมโครซอฟท์และอินเทลเป็นแกนนำ และมีธนาคารรายใหญ่ของโลกอย่าง JP Morgan และ Santander เข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้ง เพื่อผลักดันการใช้การงานเทคโนโลยีบล๊อคเชนให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย

การเปลี่ยนจาก Proof-of-work (PoW) เป็น Proof-of-stake (PoS) ของ Ethereum
ความแพร่หลายของการใช้งาน Ethereum นั้นทำให้เกิดปัญหาอย่างมากในช่วงเวลาที่มีการทำธุรกรรมเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก Ethereum 1.0 เครือข่ายสามารถรองรับธุรกรรมได้ประมาณ 15 รายการต่อวินาที Buterin ผู้ก่อตั้งจึงตั้งใจจะเปลี่ยน Ethereum 1.0 (Proof-of-work) เป็น Ethereum 2.0 (Proof-of-stake)

การ Upgrade The Merge
The Merge คือหนึ่งในขั้นตอนการเปลี่ยนระบบการยืนยันธุรกรรมบนเครือข่าย Ethereum จากระบบแบบ Proof of Work มาเป็นระบบแบบ Proof of Stake ทำให้ลดเรื่องการใช้พลังงานไฟฟ้าไปได้มากถึง 99.95% จากการคำนวณของ Ethereum Foundation และทำให้ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบน Ethereum นั้นลดลง มีความปลอดภัย, มีประสิทธิภาพในการประมวลผลสูงขึ้น และมีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หลังจาก The Merge เสร็จสิ้นทำให้ Ethereum มีอัตราการผลิต ETH ลดลงจากวันละ 15,000 ETH เหลือเพียง 1,200 ETH ซึ่งย่อมส่งผลต่อราคาในระยะยาว 

ก้าวต่อไปของ Ethereum คือ The Surge
The Surge ซึ่งเริ่มต้นในปี 2023 เป็นการพัฒนาที่จะนำระบบ Sharding มาใช้ โดยคาดว่าจะทำให้ Ethereum สามารถสามารถประมวลธุรกรรมได้มากถึง 100,000 ธุรกรรม/วินาที จากเดิมที่ทำได้เพียง 15–20 ธุรกรรม/วินาที และจะมีการอัปเดตที่ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถรันโหนดเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

Credit: Seek Sonic (Crypto PodDecast)

ช่องทางการติดต่อ

Facebook, Twitter, Telegram, Blockdit

กดลิ้งสมัครฟรี เว็ปเทรด Binance👇🏻

Create Binance free account

กดลิ้งสมัครฟรี เว็ปเทรด Satangpro👇🏻

Create your Satang Account

กดลิ้งสมัครฟรี เว็ปเทรด Bitkub 👇🏻

Create your Bitkub Account

0 0

Facebook Comments

Next Post

Coinbase เผยเหตุผลว่า ทำไม ราคาของ Solana ถึงสามารถฟื้นตัวอีกมาก

ตามรายงานของ Brian Cubellis ที่เผยแพร่โดย Coinbase เมื่อวันพุธ ‘Ethereum Killer’ อย่าง Solana ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมถึงขั้นสุด […]