Bitcoin และสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ รวมถึง Ethereum และ XRP กำลังเตรียมพร้อมรับมือกับการลงมติครั้งสำคัญที่กรุงวอชิงตันในสัปดาห์หน้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออนาคตของตลาดคริปโทเคอร์เรนซี
ในสัปดาห์หน้า สภาผู้แทนราษฎรจะมีการลงมติร่างพระราชบัญญัติ “Financial Innovation and Technology for the 21st Century Act” (Fit21) ซึ่งจะผลักดันให้คณะกรรมการกำกับดูแลการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ (CFTC) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลหลักด้านคริปโทเคอร์เรนซี ร่างพระราชบัญญัตินี้ยังกำหนดขอบเขตการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) สำหรับตลาดบิตคอยน์และคริปโท
Fit21 มุ่งหวังที่จะ:
- กำหนดให้ Commodity Futures Trading Commission (CFTC) เป็นหน่วยงานกำกับดูแลคริปโทหลัก
- กำหนดขอบเขตการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC)
- กำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคและแนวทางสำหรับการถือครอง (custody) และการล้มละลายของคริปโท
นอกจากนี้ Fit21 ยังมุ่งเน้นการสร้างกรอบป้องกันความเสี่ยงจากพฤติกรรมการลงทุนที่อันตราย รวมถึงการกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการถือครองคริปโทเคอร์เรนซีและแนวทางการปฏิบัติต่อคริปโทในกรณีการล้มละลาย
สมาคม Crypto Council for Innovation ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทและองค์กรด้านคริปโท ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยระบุว่า Fit21 เป็นกฎหมายสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล นำไปสู่การรวมประชาชนเข้าสู่ระบบการเงิน (financial inclusion) และปกป้องความมั่นคงของชาติ พวกเขายังเน้นย้ำว่าสหรัฐฯ จำเป็นต้องรักษาความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงิน
ก่อนหน้านี้บริษัทคริปโทบางแห่งเคยขู่ว่าจะย้ายออกจากสหรัฐฯ เนื่องจากความไม่ชัดเจนของกฎระเบียบ โดยมองว่าขณะนี้ยังไม่มีช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับคริปโท
อย่างไรก็ตามล่าสุด สภาคองเกรสได้ยกเลิกนโยบายการบัญชีคริปโทของ SEC ซึ่งเคยห้ามธนาคารใหญ่ของวอลล์สตรีทและบริษัทการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลเข้มงวด มิให้ถือครองบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆ มติครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคเดโมแครตบางคน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ประธานาธิบดีไบเดนจะมีเวลา 10 วันในการลงนามอนุมัติหรือ ปฏิเสธ ร่างพระราชบัญญัตินี้ หากเขาไม่ปฏิเสธคัดค้านร่างกฏหมายนี้ Fit21 จะมีผลบังคับใช้โดยอัตโนมัติ
ที่มา : forbes
Facebook Comments