DeFi คืออะไร?

Read Time2 Minute, 42 Second

Defi หรือ Decentralized Finance คือ ระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง ที่ตัดตัวกลางในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ออกไป และเปลี่ยนไปใช้ Smart Contract เป็นตัวควบคุมการทำธุรกรรม 

ข้อดีของ Defi

  1. ความโปร่งใส เนื่องจาก Defi ทำธุรกรรมผ่าน Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะบนบล๊อคเชน ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ, ตรวจสอบได้ เป็นสาธารณะอย่างแท้จริง
  2. ความเป็นอิสระ การทำงานแบบ Peer to Peer (P2P) นั้นให้อิสระกับผู้ใช้งานภายใต้ข้อกำหนดของ Smart Contract โดยไม่มีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง
  3. การเข้าถึงได้ง่าย ทุกคนสามารถเข้าร่วมกับ Defi ได้โดยไม่ต้องมีขอการอนุญาต (permissionless) หรือทำการยืนยันตัวตน (KYC) ทำให้ทุกคนที่มีอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงเครือข่ายและข้อมูลได้อย่างอิสระ
  4. ค่าธรรมเนียมต่ำ และอัตราดอกเบี้ยที่น่าสนใจ Defi เป็นการทำงานโดยไม่มีตัวกลาง จึงตัดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมออกไป และยังมีรูปแบบการให้บริการแบบ การให้กู้ยืมแบบ P2P ทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้สามารถต่อรองอัตราดอกเบี้ยกันได้โดยตรงแบบไม่ผ่านตัวกลาง
  5. ความปลอดภัย การทำงานผ่านสัญญาอัจฉริยะบนบล๊อคเชนของ Defi จะเป็นการทำงานแบบสาธารณะ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การทำธุรกรรมจะได้รับการบันทึกหลังจากผ่านการตรวจสอบโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ใช้งาน ทำให้มีความปลอดภัยและสามารถตรวจสอบได้
  6. ความสามารถในการรวมองค์ประกอบ เนื่องจากเป็นเครือข่ายแบบ Open Source ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นได้อย่างหลากหลายผ่านข้อกำหนดของสัญญาอัจฉริยะและบล๊อคเชน ทำให้เกิด Dapp ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

ข้อเสียของ Defi

  1. ความเสี่ยงของสัญญาอัจฉริยะ ภายในสัญญาอัจฉริยะในบางกรณีจะมีกลไกป้องกันข้อผิดพลาด หากเกิดความล้มเหลวในการทำธุรกรรม โทเค็นอาจถูกล๊อคไว้ในโปรโตคอล และไม่สามารถกู้คืนได้
  2. การควบคุมดูแล ในบางแพลตฟอร์มให้สิทธิการควบคุมดูแลแก่ผู้ที่ถือโทเค็นตามสัดส่วนการถือครอง การได้รับเสียงส่วนใหญ่จากโทเค็นกำกับดูแลจะทำให้สามารถควบคุมโปรโตคอลและเงินทุนได้
  3. ความเสี่ยงของ Oracle Oracle คือบริการที่ช่วยเชื่อมต่อ Smart contract ที่อยู่ในบล็อกเชนเข้ากับข้อมูลจากโลกภายนอก เพื่อนำข้อมูลจากโลกภายนอกเข้ามาใช้ภายในบล็อกเชน Oracle มีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะกับการสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (dApp) ที่ทำงานบนบล็อกเชน ในขณะเดียวกัน บริการของ Oracle ก็มีความเสี่ยงที่จะหยุดทำงานได้ และอาจทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องข่าย
  4. ความสามารถในการปรับขนาด Defi ยังคงประสบปัญหาในกรณีที่เครือข่ายมีการใช้งานเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความล่าช้าในการทำธุรกรรมและค่าธรรมเนียมที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่เครือข่ายมีความแออัด อย่างไรก็ตาม ยังมีทางเลือกอื่นๆ คือการใช้เครือข่าย Layer 2 และมีความพยายามในการอัปเกรดเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดเพิ่มเติม
  5. ไม่มีกฏระเบียบข้อบังคับ เนื่องจาก Defi อยู่ภายใต้การทำงานที่เป็นสาธารณะ ดังนั้นมันก็ยังไม่มีกรอบกฎหมายมารองรับ แม้แต่ผู้พัฒนาที่อยู่เบื้องหลังโปรโตคอลบางตัวก็ยังเป็นนิรนาม ผู้ใช้งาน DeFi จะต้องรับผิดชอบทรัพย์สิน Crypto ของตนเองอย่างเต็มที่, ทำการศึกษาหาข้อมูลอย่างรอบคอบด้วยตัวคุณเอง และทำธุรกรรมด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ

Credit: Seek Sonic (Crypto PodDecast)

ช่องทางการติดต่อ

Facebook, Twitter, Telegram, Blockdit

กดลิ้งสมัครฟรี เว็ปเทรด Binance👇🏻

Create Binance free account

กดลิ้งสมัครฟรี เว็ปเทรด Satangpro👇🏻

Create your Satang Account

กดลิ้งสมัครฟรี เว็ปเทรด Bitkub 👇🏻

Create your Bitkub Account

0 0

Facebook Comments

Next Post

IMF แนะนำให้ต่อต้านสถานะการชำระหนี้ได้ตามกฎหมายของ Cryptocurrencies

รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์กรุงลอนดอนวันที่ 23 ก.พ. – กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ The International Monetary Fund (IMF) […]